ก้อนเนื้อไขมันหรือ เนื้องอกไขมัน (Lipoma) คือเนื้องอกของเซลล์ไขมัน มักพบอยู่ระหว่างผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ไม่ใช่มะเร็ง ไม่แพร่กระจาย (Benign tumor) ลักษณะเป็นก้อนไขมันมีเปลือกหุ้ม สามารถเกิดขึ้นได้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทั้งที่ศีรษะ ลำตัว และแขน ขา
ตามสถิติก้อนเนื้อไขมันชนิดนี้จะพบได้ 1 ใน 1,000 คน และเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ สามารถพบได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด อย่างไรก็ตามมักจะพบได้มากในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี
ก้อนเนื้อไขมัน เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นเองไม่มีสาเหตุ ไม่เกี่ยวกับการกินอาหารไขมัน หรือ การสะสมของไขมัน บางรายอาจพบมีจำนวนมาก อาจเกิดขึ้นได้ทั้งตัว ถ้ามีหลาย ๆ ก้อนหลายตำแหน่งจะเรียกว่า Lipomatosis ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์
Lipoma มักมีขนาดเล็ก โดยปกติจะมีขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว แต่ในคนไข้บางราย Lipoma ก็มีโอกาสที่จะเกิดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ได้ โดยอาจจะมีความยาวเกือบ 8 นิ้ว
เบื้องต้นมักพบในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง มีก้อนกลมนูนใต้ผิวหนัง ค่อนข้างนุ่ม ไม่มีอาการเจ็บ อาจจะค่อยโตขึ้นช้า ๆ ใช้ระยะเวลาหลายปี โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันสังเกต โดยเฉพาะที่บริเวณแผ่นหลัง ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะเห็นหรือคลำเจอ ก้อนไขมันนี้อาจมีขนาดใหญ่ได้
ตามปกติแพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการของ Lipoma โดยการตรวจและคลำบริเวณที่เกิดตุ่มนูนเพื่อระบุชนิดของเนื้องอก รวมถึงการตรวจร่างกายตามปกติซึ่งสามารถวินิจฉัยได้ถึง 80 – 90% ในบางครั้งอาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อช่วยแยกว่าเป็นก้อนไขมันหรือก้อนซีสต์ แต่การวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดคือการ เอาก้อนเนื้อออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
รักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
วิธีที่แพทย์มักจะผ่าตัดเอาก้อนไขมันออกได้ คือการกรีดผิวหนังออกเล็กน้อยแล้วนำก้อนไขมันออกมา โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ ในระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด และหลังทำหัตถการหรือผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านทันทีภายในวันที่ทำหัตถการ ในกรณีก้อนไขมันมีขนาดใหญ่ อาจทำการผ่าตัดในห้องผ่าตัด อยู่ที่การพิจารณาของแพทย์
ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ถ้าหากแผลมีเลือดออกหรือแผลเปียก หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนน้ำและปิดพลาสเตอร์ที่สามารถกันน้ำได้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วยถ้าหากผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณแผลหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเกิดอาการบวม ผู้ป่วยควรที่จะยกบริเวณที่ผ่าตัดให้อยู่เหนือระดับของหัวใจ และถ้าหากไม่สามารถยกได้ก็ระมัดระวังเรื่องการเคลื่อนไหวโดยผู้ป่วยควรขยับให้น้อยที่สุดในบริเวณที่ทำหัตถการหรือผ่าตัด
การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อ Lipoma ออกทั้งก้อน รวมถึงบริเวณเปลือกหุ้มออกจะทำให้ไม่เกิดซ้ำอีก
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่