ผู้รับการตรวจสุขภาพควรพักผ่อนอย่างเพียงพอก่อนรับการตรวจ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และจะทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
ดังนั้นผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพต้องนอนหลับพักผ่อนมาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ
เฉพาะการตรวจน้ำตาลในกระแสเลือด (ตรวจเบาหวาน) และการตรวจไขมันในกระแสเลือด (คลอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอร์ไรด์)
ต้องงดน้ำ และอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ต้องงดอาหาร อย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ และควรงดอาหารที่มีไขมันสูงอย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ
การตรวจเลือดอื่นๆ เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับ หรือไต ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
ไม่ต้องงดน้ำและอาหารแต่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลมในปริมาณมาก หรือการรับประทานขนมหวานจัด เพราะจะทำให้มีน้ำตาลปนในปัสสาวะ หลีกเลียงการมีเพศสัมพันธ์ในคืนก่อนตรวจ หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อน
วิธีการเก็บปัสสาวะที่ถูกต้องคือ ต้องทำความสะอาดส่วนปลายของทางเดินปัสสาวะด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งก่อน ปัสสาวะทิ้งไปเล็กน้อยแล้วเก็บปัสสาวะตรงส่วนกลางให้ได้ปริมาณที่กำหนด
ไม่ควรมีภาวะเจ็บป่วยของดวงตาขณะตรวจ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ มีบาดแผลรอบดวงตา ตาบวม เป็นต้น
หากสวมแว่นสายตาควรนำแว่นที่ใช้อยู่มาตรวจเช็คด้วย
ไม่ควรตรวจสายตาหลังจากที่ทำงานใช้สายตาจนรู้สึกล้าหรือตาพร่ามัวแล้ว
ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน คือตรวจหลังจากที่หลีกเลี่ยงเสียงดังมาแล้วอย่างน้อย 16 ชั่วโมง นั่นก็คือควรตรวจก่อนเวลาเข้าทำงาน การตรวจในขณะทำงานหรือหลังจากออกกะมาแล้วอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้
ผู้รับการตรวจต้องไม่เป็นหวัดคัดจมูกเพราะอาจมีภาวะหูอื้อได้
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคือหูฟังครอบหู ดังนั้นการสวมต่างหูใหญ่ แว่นตา ที่คาดผม หมวก อาจเป็นอุปสรรคต่อการตรวจ
1.ไม่ควรตรวจหลังจากรับประทานอาหารมาใน 1 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้อาเจียน
2.หากสูบบุหรี่ ให้งดสูบบุหรี่มาก่อนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
3.ควรสวมชุดที่ไม่รัดทรวงอกและท้อง ควรเป็นชุดที่ค่อนข้างหลวมสบาย
4.ไม่อยู่ในภาวะหลังผ่าตัด โดยเฉพาะผ่าตัดช่องท้อง ทรวงอก หรือสมอง
5.หากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ควรรักษาหายแล้ว
6.ควรพักให้หายเหนื่อยก่อนตรวจ ไม่ควรตรวจหลังออกกำลังกาย
7.หากมีฟันปลอมต้องถอดฟันปลอมออกก่อนตรวจ
8. ห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมขณะตรวจ
9. หากเป็นโรคที่ต้องใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น ต้องงดใช้ยาขยายหลอดลมก่อนตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
การตรวจสารเคมีชนิดอื่นๆ เช่น เบนซีน โทลูอีน สไตลีน อาร์เซนิก ควรปรึกษาแพทย์ผู้จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพของบริษัทอีกครั้ง เพราะสารเคมีแต่ละชนิดมีวิธีการเก็บ และช่วงเวลาในการเก็บสารส่งตรวจแตกต่างกัน
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่