ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์จนทำให้เกิดการปลูกฝังพฤติกรรมรักความสะดวกสบาย เกิดพฤติกรรมการนั่ง กิน นอน มีการบริโภคที่มากจนเกินความต้องการ ไม่มีการออกกำลังกาย อันส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ตามมา
กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) คือ กลุ่มความผิดปกติที่พบร่วมกัน ได้แก่ ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ตลอดจนปัจจัยที่เป็นสารตั้งต้นของการอักเสบ (Proinflammatory, prothrombotic) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคเรื้อรังต่าง ๆ
ในสหรัฐอเมริกา พบกลุ่มคนในช่วงอายุ 20 – มากกว่า 70 ปี มีกลุ่มอาการอ้วนลงพุงโดยรวมประมาณร้อยละ 22 โดยพบว่าหากอายุมากขึ้นจะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
ส่วนข้อมูลกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในประเทศไทย (Interasia study) ในประชากรอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี จำนวน 5,091 ราย พบประมาณร้อยละ 21.9 (NCEP ATP III) พบว่าเพศหญิงมีกลุ่มอาการอ้วนลงพุงมากกว่าเพศชายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และความผิดปกติที่พบบ่อยสุด คือ ไขมันดี (HDL) ต่ำ
เมื่อมีลักษณะที่เข้าได้กับเกณฑ์ NCEP ATP III 2005 มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
สาเหตุหลัก คือ ภาวะอ้วน และภาวะดื้อต่ออินสุลิน (คือภาวะที่ฮอร์โมนอินสุลินมีความผิดปกติ ไม่สามารถจับกับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น) จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้
การแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุอันได้แก่ โรคอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลิน ดังต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. เมื่อตรวจพบความผิดปกติควรได้รับการรักษาปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคหัวใจและหลอดเลือด
ได้แก่ การรักษาไขมันในเลือดสูงผิดปกติ การรักษาความดันโลหิตสูง และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดสูง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาจจะต้องพิจารณารักษาด้วยยาตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
กลุ่มอาการอ้วนลงพุง เป็นโรคไม่ติดต่อที่สามารถป้องกันได้ เพียงแค่มีความรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ ของความเสี่ยง ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนที่ภัยเงียบจะเข้าใกล้ตัวคุณ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่