80% ของบุคคลทั่วไป เชื่อว่าต้องเคยมีอาการปวดหลัง จะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามอายุแต่ก็จะต้องเคยปวดหลังกันมาบ้าง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งการปวดหลังทั่วไป คือ อาจจะมีสาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ และเป็นไปได้ทั้งการปวดหลังที่มีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ซึ่งในกรณีหลังนี้มักเป็นสาเหตุหลักที่นำผู้ป่วยมาพบหมอ
ถ้าปวดหลังจากสาเหตุหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแล้วล่ะก็จะเป็นอะไรที่ทรมานมากทีเดียวเพราะจะไม่ได้มีอาการปวดแค่หลังเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหามากก็คือ
และแน่นอนคงรบกวนการใช้ชีวิตประจำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเรื่องใกล้ตัวแบบนี้วันนี้เราจึงจะมาเรียนรู้เรื่องหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทกัน ไปเริ่มกันเลย
หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นกระดูกอ่อนชนิดหนึ่งลักษณะจะเป็นเมือกใสคล้ายเจลลี่มีความยืดหยุ่นสูงคั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่สองอย่างคือ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังและยังมีหน้าที่รับน้ำหนักที่ผ่านกระดูกสันหลังลงมา ซึ่งถ้าหมอนรองกระดูกมีการกระทบกระเทือนจนฉีกขาดจนทำให้ส่วนชั้นในที่เป็นเมือกใสๆ มีการเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้น
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ซึ่งปัจจัยในเรื่องของอายุมีผลมากทีเดียว เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นเมือกใสจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป จึงทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนไปโดนเส้นประสาท
และสิ่งที่เร่งให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็วก็คือ ลักษณะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น
สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งทำให้เกิด หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือเกิดการฉีกขาดจนเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้
หากคุณเริ่มมีอาการปวดหลัง ลักษณะแบบปวดทั่วบริเวณหลัง และปวดหนักบริเวณบั้นเอวลงไปจนถึงขา ถ้าปวดเรื้อรังเกินกว่า 2 สัปดาห์ นั้นหมายถึงว่าคุณมีโอกาสจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ทางที่ดีให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็คอาการโดยด่วน
โดยปกติแล้วจะใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจเอกซเรย์พิเศษหรือ การทำ MRI เพื่อประเมินภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังและมีสัญญาณของการกดทับของเส้นประสาท เช่น มีอาการชา กล้ามเนื้อลีบ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
เครื่อง MRI: Ingenia Ambition 3.0 Tesla
โรคนี้สามารถรักษาได้ กรณีผู้ป่วยมีอาการไม่มากแพทย์จะแนะนำให้ทานยา ทำกายภาพบำบัด แต่ถ้าหากอาการปวดหลังรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แพทย์ก็จะแนะนำวิธีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแบบผ่านกล้อง (Full Endoscopic Spinal Surgery) ซึ่งเป็นเทคนิคผ่าตัดแบบ MIS อันนับว่าเป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่มีการพัฒนาก้าวล้ำไปอีกขั้นซึ่งจะช่วยทำให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจมากขึ้น
เพราะวิธีการผ่าตัดแบบนี้เจ็บน้อยมาก แผลผ่าตัดก็เล็กมากขนาดเพียงแค่ปลายนิ้วเท่านั้น ความเสี่ยงในการติดเชื้อก็ต่ำ และที่สำคัญคนไข้สามารถฟื้นตัวได้เร็วมาก ทำให้ลืมเรื่องการผ่าตัดที่ต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ ไปได้เลย เพราะหลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธี Minimal Access Microdiscectomy เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแบบแผลเล็กเจ็บน้อย (Minimal Invasive Surgery) ซึ่งมีข้อดีมากมายหลายประการ ได้แก่ มีการรบกวนหรือทำลายเนื้อเยื่อน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลแบบดั้งเดิม ซึ่งพอแผลเล็ก ตัวกล้ามเนื้อถูกรบกวนน้อย และตัวเนื้อเยื่อถูกทำลายน้อย โอกาสที่จะเกิดพังผืดหลังการผ่าตัดก็น้อยตามไปด้วยเช่นกัน ขนาดของแผลเล็กมาก มีความยาวเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น และด้วยขนาดของแผลที่เล็กนี่เอง จึงส่งผลให้มีการสูญเสียเลือดน้อย โดยมีการเสียเลือดเพียง 1 ซีซีเท่านั้น และยังทำให้ระยะเวลาการพักฟื้นหลังผ่าตัดสั้น เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก จึงทำให้ผู้ป่วยค่อนข้างฟื้นตัวเร็ว โดยพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้นหลังการผ่าตัด
สำหรับการเตรียมร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัด ประกอบไปด้วย การตรวจร่างกายทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นหัวใจ ถ่ายภาพเอกซเรย์ หรือการตรวจพิเศษต่างๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโรคทางกระดูกสันหลังนั้นมักเป็นผู้สูงอายุมากกว่าเด็กหรือวัยหนุ่มสาว ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องเข้ารับการผ่าตัด ก็ต้องมีการเตรียมพร้อมร่างกายก่อนผ่าตัด เช่น หากมีโรคประจำตัว มียาที่รับประทานเป็นประจำ โดยเฉพาะยาที่มีผลกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาละลายลิ่มเลือดจำพวก Aspirin, Warfarin ก็มีความจำเป็นที่จะต้องงดก่อนการผ่าตัดเป็นเวลา 5-7 วัน เป็นต้น
หลังจากผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเรียบร้อยแล้ว หากเป็นการผ่าตัดด้วยวิธี Minimal Access Microdiscectomy ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กเจ็บน้อย ระยะเวลาที่ใช้พักฟื้นจะสั้นมาก เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น โดยผู้ป่วยสามารถลุกเดินเองได้เลยในวันที่ผ่า และสามารถกลับบ้านได้เลยในวันรุ่งขึ้น
ในส่วนของวิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดนั้น มีข้อห้ามและข้อควรระวัง เช่น ห้ามยกของหนัก/ห้ามก้มงอหลังภายใน 1 เดือนหลังการผ่าตัด ขับรถได้ปกติหลังจากผ่าตัดไปแล้ว 1-2 สัปดาห์ ทำอาหารได้ และสามารถกลับไปทำงานได้เลย หรืออาจเรียกได้ว่าแทบจะกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้เลย
ทั้งนี้ เมื่อเข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังไปแล้ว อาจมีแนวโน้มของการเคลื่อนซ้ำของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้เพียง 8% เท่านั้น ดังนั้น หลังการผ่าตัดไปแล้ว ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองให้ดี เช่น ไม่ยกของหนักเกินไป ทำท่าทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไปที่สาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนอย่างตรงจุดมากที่สุด
เนื่องจากเป็นการผ่าตัดบริเวณหลังส่วนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้มีความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทจากการผ่าตัดได้ แต่การที่แพทย์ใช้ Microscope ช่วยในการผ่าตัด จะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทลง เนื่องจากแพทย์เห็นตำแหน่งที่ทำการผ่าตัดและตำแหน่งของเส้นประสาทได้ชัดเจนขึ้น
โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงของการบาดเจ็บของเส้นประสาทหลังการผ่าตัดนั้นมีน้อยมาก เพียงแค่ 1% เท่านั้น และเนื่องจากการที่แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดจึงมีน้อยมากหรืออาจเรียกได้ว่าแทบไม่มีเลยก็ว่าได้
ทั้งนี้ การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทผ่านกล้องนั้น นอกจากต้องอาศัยวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การผ่าตัดแบบแผลเล็กเจ็บน้อย (Minimal Invasive Surgery) ในการผ่าตัดแล้ว ความสามารถและความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลของเรามีทีมศัลยแพทย์ชำนาญการที่มากด้วยประสบการณ์ในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง รวมไปถึงวิสัญญีแพทย์ที่เข้ามาช่วยจัดการในส่วนของการระงับปวดหลังผ่าตัด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายจากการผ่าตัดมากที่สุด
นายแพทย์ชลัท วินมูน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง มีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 20 ปี ผ่าตัดโรคทางกระดูกสันหลังมาไม่ต่ำกว่า 100-120 เคสต่อปี ถือวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ศึกษาต่อด้านกระดูกสันหลังจากประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลังโดยเทคนิคแผลเล็กเจ็บน้อย รวมไปถึง สามารถให้คำปรึกษาและให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกสันหลังคดได้ด้วยเช่นกัน
นายแพทย์ภัทร อำนาจตระกูล แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง มีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี ผ่านการผ่าตัดมาไม่ต่ำกว่า 100-120 เคสต่อปี ถือวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ศึกษาต่อด้านกระดูกสันหลังจากประเทศเยอรมนี มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลังโดยเทคนิคแผลเล็กเจ็บน้อย รวมถึงมีความเชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมอุบัติเหตุบาดเจ็บทางกระดูกอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นอาจารย์แพทย์ให้กับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ รวมถึงเคยมีงานวิจัยเรื่องไขสันหลังบาดเจ็บเฉียบพลันและตีพิมพ์สู่สาธารณะอีกด้วย
ปิดท้ายบทความนี้กันด้วยเรื่องราวดีๆ ที่คุณหมออยากฝากมาบอกว่า แม้สถานการณ์โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทจะไม่ร้ายแรงในประเทศไทย แต่ถึงอย่างไรสิ่งที่ดีกว่าคือ การป้องกันแต่เนิ่นๆ เพียง แค่ใช้หลังอย่างถูกวิธี
โดยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากต้องนั่งนานๆ ควรหาโอกาสเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และควรหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง หากเรารู้ว่ากระดูกเราไม่ค่อยจะแข็งแรงก็ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดดบ่อยๆ หรือมีการกระแทก ควรหันมาว่ายน้ำ อาจจะออกกำลังกายเบาๆ ที่เน้นการเพิ่มความยืดหยุ่นแทน
ทั้งหมดนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของหมอนรองกระดูกไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร คุณหมอฝากมาก็อย่าลืมปฏิบัติตามกันด้วยนะ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่