ในสมัยก่อนถ้ามีอาการเลือดออกตามไรฟัน หลายๆ คนก็จะเข้าใจว่าเราขาดวิตามินซี หรือบางคนเป็นตะคริวบ่อยๆ หรือมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรงก็มักจะนึกถึงการขาดแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม หรือแมกนีเซียม หากท่านไหนมีอาการเหน็บชา ก็จะนึกถึงในเรื่องของการขาดวิตามิน บี1
แต่ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีอาการเหล่านั้น ก็อาจบ่งบอกถึงภาวะพร่องวิตามินได้ เช่น คนไข้ที่มีภาวะติดเชื้อบ่อยๆ บางท่านเป็นหวัด เป็นภูมิแพ้ พวกนี้ก็มีภาวะพร่องของวิตามินเกิดขึ้นได้
ในปัจจุบันการตรวจเลือด สามารถดูได้ว่าแต่ละคนมีภาวะการขาดวิตามินอย่างไร ปริมาณที่ขาดมากน้อยเพียงใด เมื่อทราบแล้ว แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ก็จะสั่งปรุงวิตามินตามปัญหาของคนไข้นั้นๆ เป็นรายบุคคลไป
หลังจากที่ทานไปสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง แพทย์จะมีการติดตามว่าระดับวิตามินที่คนไข้เคยพร่องอยู่นั้น ขึ้นมาอยู่ในระดับที่ปกติดีแล้วหรือยัง ถ้าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีก็สามารถที่จะลดระดับวิตามินลงได้ โดยการทานวิตามินแบบนี้แพทย์จะมีการติดตามตรวจเลือดเป็นระยะ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจจะมาจากการทานวิตามิน
หากเราต้องซื้อวิตามินรับประทานเอง มีอะไรบ้างที่ควรสังเกต อันดับแรกเลย คือ เรื่องฉลาก เวลาที่เราหยิบบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาเราต้องดูก่อนว่ามีฉลาก อย. กำกับไว้หรือไม่ สอง ต้องดูวันที่หมดอายุ จากนั้นก็จะต้องดูว่าข้างขวดกำกับให้เราทานที่ปริมาณที่เท่าไร วิตามินเหล่านั้นสกัดจากธรรมชาติหรือเป็นแบบสังเคราะห์ ซึ่งตรงนี้เราสามารถที่จะสอบถามกับเภสัชกรได้ เหตุผลสำคัญที่เราควรทานวิตามินจากธรรมชาติ เพราะจะไม่สะสมในร่างกายและเวลาที่เราทานไปเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องความเป็นพิษในร่างกาย สามารถขับออกจากร่างกายได้ง่าย
เนื่องจากในปัจจุบันมีคนป่วยเพิ่มมากขึ้น ที่ไม่อยากจะทานแต่ยาเพียงอยากเดียว แต่ต้องการวิตามินเพื่อเสริมให้กับร่างกาย จึงนิยมซื้อวิตามินมารับประทานเอง แต่หารู้ไม่ว่าในวิตามินบางตัวมีผลต่อการดูดซึม หรือต่อต้านกับยาบางชนิด เช่น ในกลุ่มคนไข้โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคในกลุ่มมะเร็ง ซึ่งวิตามินเหล่านั้นอาจจะไปลดการดูดซึมของยาที่ต้องทานอยู่เป็นประจำ ในทางกลับกัน กับการทานยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันบางกลุ่ม ยาลดความดันบางอย่าง ก็อาจจะทำให้มีปัญหาในเรื่องของการขับออกของวิตามินได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อที่จะได้รับวิตามินที่เหมาะสมกับปัญหาของเราเองความเจ็บป่วยของคนเราส่วนหนึ่งมาจากการรับประทาน ฉะนั้น เราจึงควรทานอาหารให้เป็นเสมือนยารักษาโรคไปในตัว ซึ่งเป็นอาหารง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์ และควรทานให้หลากหลาย
“หากเราปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเหล่านี้ให้มาเป็นยา เราอาจจะไม่ต้องพึ่งในเรื่องของการรับประทานวิตามินต่างๆ แต่ในกรณีที่เรารู้สึกว่า ทานอาหารที่เป็นผัก/เครื่งเทศต่างๆเยอะแล้วแต่ทำไมสุขภาพยังไม่ดีขึ้น ก็ควรจะต้องมาตรวจ เพื่อดูว่ามีปัญหา หรือมีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญที่อยากจะฝากไว้ สำหรับการตรวจเช็คระดับวิตามิน สามารถตรวจเป็นประจำทุกปี เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น ระดับวิตามินหรือความบกพร่องก็จะมีมากขึ้นด้วย ตรวจปีนี้ไม่ขาดวิตามิน แต่ตรวจปีหน้าอาจจะขาดวิตามินก็เป็นได้ การที่เราพบความบกพร่องก่อนเราก็สามารถป้องกันได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมของร่างกายและกลายเป็นโรคค่ะ”
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่