Moderna คือ วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ-1273 ( mRNA-1273) เป็นนวัตกรรมล่าสุด แตกต่างจากวัคซีนทั่วไปที่เป็นโปรตีนหรือเชื้อโรคที่ถูกทำให้ตาย และต่างจากวัคซีนชนิดที่ใช้ไวรัสพาหะ (Viral Vector Vaccine) พัฒนาโดย บริษัท ModernaTX, Inc. สหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
หลังจากคณะกรรมการอาหารและยา ได้ลงนามการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน ชื่อยา โมเดอร์นา วัคซีนโควิด-19 "วัคซีนโมเดอร์นา" (Moderna) โดยจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ เมื่อ 13 พ.ค. 2564 และใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยานี้มีอายุจนถึง 12 พ.ค 2565 จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนทางเลือก ซึ่งสามารถอธิบายเป็นข้อๆดังนี้
หลังจากฉีดวัคซีน mRNA จะถูกห่อหุ้มด้วยไขมันอนุภาคนาโน แล้วเซลล์ร่างกายในบริเวณที่ฉีดจะกลืนกินไขมันอนุภาคนาโนที่มี mRNA เข้าไป ทำให้เซลล์บริเวณนั้น ผลิตสารโปรตีนคล้ายหนามของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นหรือภูมิต้านทานมาต่อต้าน ”หนาม” ของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แบบจำเพาะเจาะจง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อสามารถก่อโรคในร่างกายได้
วัคซีนโมเดอร์นา ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อ 30 เม.ย. 2564 ในการใช้ป้องกันโรคโควิด-19 และ อย.ไทยขึ้นทะเบียนเมื่อ 13 พ.ค. 2564 จากข้อมูล ณ ขณะนี้ ระบุว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดโรคคือ 94.1% ในประชากรทั่วไป ป้องกันการติดโรคได้ 86.4% ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ลดความรุนแรงของโรคได้ 100% และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้ 100% และจากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการล่าสุด พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับที่สูงพอที่จะยับยั้งสายพันธุ์ B.1.17 จากอังกฤษ และ B.1.351 จากแอฟริกาใต้ได้
วัคซีนนี้ เหมาะสำหรับฉีดให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยจะฉีดทั้งหมด 2 โดส (ครั้ง) ห่างกัน 4 สัปดาห์ ปัจจุบันมีมากกว่า 14 ประเทศที่ใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ ยุโรป อิสราเอล กาตาร์ บรูไน สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น ฯลฯ
จากข้อมูลด้านความปลอดภัย กลุ่มประชากรวิจัย 15,000 คน จากฐานข้อมูลสมาคมโรคติดเชื้อประเทศสหรัฐอเมริกา พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปประมาณ 0.03% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งมีรายงานดังนี้
จากรายงานเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา โมเดอร์นา ได้เผยผลการทดลองทางคลินิกในกลุ่มคนอายุ 12 – 17 ปี พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ 96% และนอกจากนี้กำลังอยู่ระหว่างทดสอบในเด็กอายุ 6 เดือน – 11 ปี ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ทั้งนี้ควรรอฟังคำแนะนำสำหรับช่วงอายุที่ต่ำกว่า 18 ปีอีกครั้งจากกระทรวงสาธารณสุขของไทย
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนทางเลือก คลิกที่นี่
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่