ภาวะเท้าแบน

ภาวะเท้าแบน

ภาวะเท้าแบน  เป็นหนึ่งในภาวะที่ผู้ปกครองนำบุตรหลานมาพบแพทย์  บ่อยที่สุด   โดยคุณพ่อหรือ คุณแม่สามารถสังเกตุบุตร หลานของท่านได้เอง  โดยจะเห็นอุ้งเท้าจะหายไปเวลายืนหรือเดิน ซึ่งเท้าแบนชนิดนี้เรียกว่าเท้าแบนแบบยืดหยุ่น(Flexible flatfeet) ซึ่งพบบ่อยที่สุด

สาเหตุภาวะเท้าแบน

ถ้าเป็นชนิดเท้าแบนแบบยืดหนุ่ยยังไม่ทราบแน่ชัด  อาจเกิดจากเอ็นยึดข้อต่าง ๆ ยืดหย่อน

ลักษณะทางคลินิกของภาวะเท้าแบน

โดยทั่วไปจะพบว่าภาวะขาโก่งจะพบมากที่สุดในช่วงแรกเกิด โดยทั่วไปพบสองข้าง แต่อาจพบข้างใดข้างหนึ่งอาจโก่งกว่าอีกข้างหนึ่ง ภาวะนี้เราอาจเรียกว่า ขาโก่งตามสรีระ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “physiologic bow legs”  และเมื่อลูกน้อย เริ่มเจริญเติบโตขึ้น  ธรรมชาติจะช่วยปรับแต่งให้ขาตรงขึ้น ตรงขึ้น จนประมาณ 2 ขวบ จะตรงมาก  หลังจากนั้น เด็กก็จะเริ่ม ยืน หรือเดินแบบเข่าชิดหรือชนกัน ที่เราเรียกว่า ขาเป็ด หรือ ขาฉิ่ง  ภาษาอังกฤษเรียกว่า “physiologic knock knee” โดยจะเป็นมากเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ หลังจากนั้นขาและเข่าของลูกน้อยก็จะเริ่มกลับมาตรงขึ้น ๆ ตามปกติเมื่ออายุประมาณ 7-8 ขวบ จะเห็นว่าสิ่งที่เห็นเหล่านี้ เป็นการพัฒนาการ การเจริญเติบโต ของกระดูกขา ซึ่งจะโก่ง จะงอ แต่แรกเกิด และท้ายที่สุดก็จะกลับตรงเหมือนปรกติ  ซึ่งการที่จะขาโก่ง หรือตรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  โดยส่วนใหญ่ขึ้นกับทางพันธุกรรมเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ดีมีอีกหลายปัจจัยซึ่งเป็นปัจจัยเสริมทำให้เด็กขาโก่งมากขึ้น จนเป็นโรคขาโก่งจริง ๆ (Blount’s disease) เช่น เด็กยืน หรือ เดินเร็ว ก่อนวัย เด็กน้ำหนักมาก อาจพบโรคความผิดปรกติทางเมตาบอริซึมร่วมเช่น โรคขาดวิตามินดี

การรักษา

ถ้าเป็นขาโก่งตามสรีระ  ให้สังเกตุแนวของขา ว่าสอดคล้องตามอายุหรือไม่  กลุ่มนี้จะใช้การเฝ้าติดตามเป็นระยะ ๆ  ซึ่งส่วนใหญ่จะกลับมาเป็นปกติเมื่อถึงอายุอันควรดังกล่าว  ส่วนการดัดขา หรือการตัดรองเท้า ยังไม่มีการวิจัยรองรับว่าได้ผล  ในกรณีที่ขาผู้ป่วยเด็กโก่งมากจนเป็นโรคขาโก่งจริง จำเป็นต้องผ่าตัดทำให้กระดูกตรง โดยมักจะทำการผ่าตัดในช่วงอายุ 3-4 ปี และหลังผ่าตัดขาจะอยู่ในเฝือกประมาณ 6-8 สัปดาห์

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?