เพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนั้นนานจนเกินไป โดยหลักการรักษาก็มีอยู่หลายวิธี ทั้งการลดแรงที่มากระทำบริเวณดังกล่าว การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อให้รับแรงได้ดีขึ้น และการช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นฟื้นตัวดียิ่งขึ้น
การเปลี่ยนการลงเท้า เป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจและแปลกใหม่ที่จะขอยกเป็นตัวอย่างให้ได้ทราบกัน วิธีการนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนมาลงหน้าเท้าหรือกลางเท้าแบบที่เป็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบัน แต่เป็นการเปลี่ยนกลับไปลงส้นเท้าให้มากขึ้นต่างหาก เนื่องจากการลงเท้าที่แตกต่างกันส่งผลให้โครงสร้างและกล้ามเนื้อที่ใช้รับแรงก็แตกต่างกันไปตามไปด้วย แต่แรงไม่ได้หายไปไหน สำหรับการวิ่งลงส้นเท้าแรงกระทำต่อหัวเข่าจะสูงกว่า ส่วนการวิ่งลงหน้าเท้าแรงกระทำต่อข้อเท้าและน่องก็จะสูงกว่า ในกรณีมีอาการเจ็บบริเวณข้อเท้าอยู่ การเปลี่ยนกลับไปวิ่งลงส้นเท้าเล็กน้อยในช่วงที่มีอาการเจ็บจะสามารถช่วยลดแรงกระทำบริเวณข้อเท้าลงได้โดยไม่ต้องหยุดวิ่ง (แต่ห้ามก้าวยาวจนเกินไปและวิ่งลงส้นตอนเข่าตึง)
กล่าวโดยสรุปคือ อาการปวดข้อเท้าด้านนอกนั้นสัมพันธ์กับการเกิดข้อเท้าพลิก หากนักวิ่งท่านใดเริ่มมีอาการแสดงขึ้นแล้วควรรีบรักษาให้หายขาด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นหนักมากขึ้นจนเกิดข้อเท้าพลิกตามมา ซึ่งรุนแรงกว่าและส่วนมากส่งผลให้นักวิ่งต้องหยุดวิ่งเป็นเวลานาน
คำอ้างอิง
NCBI – Peroneal tendinosis as a predisposing factor for the acute lateral ankle sprain in runners: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25786820. Accessed on October 29, 2015.