รู้ได้อย่างไรว่า…นิ้วล็อก!

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง

มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนของเส้นเอ็น

อาการ

อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

  • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
  • นิ้วล็อคหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล๊อค

  • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
  • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
  • ระยะที่ 3 นิ้วล็อค ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

อุบัติการณ์ของโรค

  • พบได้ประมาณ 2.6% ของประชากรทั่วไป
  • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
  • พบในเพศหญิงมากว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
  • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

การรักษา

1. การรักษาโดยการไม่ผ่าต้ด โรคนิ้วล็อคส่วนใหญ่จะเริ่มรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

การรักษาประกอบด้วย

  • ให้พักและสังเกตอาการ สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นและมีอาการไม่มากหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือทำงานหนัก เช่น ทำสวน เย็บผ้า จับกรรไกร เป็นต้น
  • ให้ยาต้านการอักเสบชนิดรับประทาน
  • ฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่เพื่อต้านการอักเสบ เป็นวิธีที่รักษาเบื้องต้นที่นิยมมากที่สุด อาจต้องฉีดหลายครั้ง ได้ผลดีในรายที่มีอาการของโรคเกิดขึ้นไม่นาน
  • ใส่เฝือกหรืออุปกรณ์ประคองนิ้วมือ ใช้เวลารักษาประมาณ 3-9 สัปดาห์ ได้ผลดีในรายที่มีอาการนิ้วงอติดช่วงตื่นนอนตอนเช้า ช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น แต่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่นิ้วล็อคหรือนิ้วติดแข็งหรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้ว

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำ การผ่าตัดจะเป็นวิธีที่หายขาด จุดประสงค์ของการผ่าตัด เพื่อตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวและรัดเส้นเอ็นอยู่ให้เปิดออก

การผ่าตัดรักษาแบบเปิด

การผ่าตัด โดยเปิดแผลผ่าตัดที่บริเวณโคนนิ้วมือขนาดประมาณ 1-1.5 ซม. โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่หรือการฉีดยาชาที่คอเพื่อทำให้แขนข้างนั้นชา ในขณะผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวจะถูกตัดเปิดออก แพทย์จะพิจารณาตำแหน่งที่จะต้องตัดออก หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถใช้มือสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันหรืองานเบาๆได้ และตัดไหมได้เมื่อแผลแห้งประมาณ 10-14 วัน รอยแผลจะนุ่มขึ้นและจางหายไป

Photo Credit: CarbonNYC [in SF!] via Compfight cc

รู้ได้อย่างไรว่า…นิ้วล็อก!
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?