- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ย่อยยาก
- ไม่รับประทานอาหารครั้งละมากเกินไป
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- การทำงานแบบนั่งโต๊ะโดยไม่มีการออกกำลังกาย เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้บ่อยขึ้น ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายสม่ำเสมอต่อเนื่อง
หากเกิดอาการ ท้องอืดอย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะแม้ท้องอืดจะเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ท้องอืดก็อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคร้ายแรง หรือพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ ท้องอืด
-
อาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูก และเหมือนพุงจะใหญ่ขึ้นด้วย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
อาการท้องผูก แน่นท้อง อาจเกิดจากพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรืออาจเกิดจากยาบางตัวที่ทำให้ท้องผูก ที่พบได้บ่อยคือ แคลเซียม ธาตุเหล็ก หรือเกิดจากโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำ โรคทางระบบประสาท นอกจากนั้นอาจเกิดจากมีความผิดปกติของลำไส้เอง เช่น มะเร็งลำไส้
-
โดยปกติแล้วการขับถ่ายที่ดีควรเป็นอย่างไร
การขับถ่ายปกติคือการถ่ายไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน และไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยลักษณะอุจจาระต้องปกติ ไม่เหลว หรือแข็งเกินไป
-
ถ้าไม่ได้ขับถ่ายทุกวัน จะถือว่าผิดปกติหรือไม่
ไม่ผิดปกติ ถ้าถ่ายวันเว้นวัน และอุจจาระไม่แข็ง หรือเป็นเม็ดๆ
-
ถ้าอยากให้การขับถ่ายกลับมาเป็นปกติควรทำอย่างไร
- รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ ผัก ผลไม้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ ประมาณ 2 ลิตร ( 8 แก้ว ต่อวัน)
- ฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ถ้าปรับพฤติกรรมแล้ว ยังไม่ดีขึ้น และมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น ปวดท้อง ถ่ายมีเลือดปน ผอมลง น้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง
