คนประจำเรือ กับความสำคัญของการตรวจสุขภาพ

คนประจำเรือ กับความสำคัญของการตรวจสุขภาพ

HIGHLIGHTS:

  • การตรวจสายตา การตรวจตาบอดสี การตรวจลานสายตา การตรวจการได้ยิน จัดเป็นการตรวจที่มีความสำคัญเพื่อช่วยในการทำงานและหลบหลีกภัยหากมีสัญญานเตือนภัยฉุกเฉิน
  • ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 ได้มีการกำหนดให้ตรวจสุขภาพคนประจำเรือ ทุก 2 ปี (กรณีคนประจำเรือที่มีอายุมากกว่า 18 ปี) และทุก 1 ปี (กรณีคนประจำเรือมีอายุน้อยกว่า 18 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 16 ปี)

คนประจำเรือ คือ กลุ่มคนที่ต้องทำงานบนเรือ เช่น กัปตัน คนเดินเรือ ช่างกลเรือ คนจัดเตรียมอาหารบนเรือ กะลาสีเรือ ตลอดจนแผนกอื่น ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ไม่ว่าเป็นเรือชนิดใด ๆ เช่น เรือโดยสาร เรือท่องเที่ยว เรือขนส่งสินค้า เรือที่ขนส่งพนักงานไปทำงานบนแท่นขุดเจาะกลางทะเล เป็นต้น โดยกลุ่มคนประจำเรือนี้เป็นกลุ่มคนที่ต้องไปทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีข้อจำกัดและอยู่ห่างจากชายฝั่งเป็นระยะเวลานาน มีโอกาสเกิดภาวะฉุกเฉินของสุขภาพบนเรือได้ตลอดเวลา

ดังนั้นการจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล ปี 2558 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้มีการกำหนดให้ตรวจสุขภาพคนประจำเรือ ดังนี้

  • กำหนดให้ตรวจสุขภาพ ทุก 2 ปี สำหรับคนประจำเรือที่มีอายุมากกว่า 18 ปี
  • กำหนดให้ตรวจสุขภาพ ทุก 1 ปี สำหรับคนประจำเรือที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 16 ปี

เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานทั้งสุขภาพทางกายและสภาพจิตใจ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ว่าจ้าง ว่าลูกเรือจะมีศักยภาพและพร้อมที่จะทำงานบนเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพของคนประจำเรือ

เนื่องจากคนประจำเรือมีกลุ่มคนที่มีหลายช่วงอายุ ซึ่งในแต่ละคนมีสุขภาพไม่เหมือนกัน บางคนมีสุขภาพที่แข็งแรง บางคนอาจมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ดังนั้นการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ หากโรคที่เป็นอยู่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เบาหวานที่รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ภาวะอ้วนที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานที่อาจส่งผลกระทบกับการทำงาน โรคติดเชื้อต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการรักษา เป็นต้น ประกอบกับการทำงานของคนประจำเรือต้องทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีการจำกัดอุปกรณ์ทางการแพทย์และอยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพหรืออุบัติเหตุที่มีความจำเป็นที่จะต้องนำผู้ป่วยกลับเข้าชายฝั่งทันทีนั้นจะเป็นไปได้ด้วยความลำบากทั้งในการขนย้าย ส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล และหากกลับมาไม่ทันอาจจะส่งผลกระทบถึงขึ้นเสียชีวิตได้ทันที

ตรวจสุขภาพของคนประจำเรือมีตรวจอะไรบ้าง

นอกจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยแพทย์แล้ว ยังมีการตรวจความพร้อมของร่างกายเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจความคมชัดของสายตา
  • ตรวจตาบอดสี
  • ตรวจลานสายตา
  • ตรวจการได้ยิน ซึ่งจัดเป็นการตรวจที่มีความสำคัญเพื่อช่วยในการทำงานและหลบหลีกภัยหากมีสัญญานเตือนภัยฉุกเฉิน
  • ตรวจฟัน
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (หากมีข้อบ่งชี้)

โดยยึดหลักมาตรฐานของการตรวจตามพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล ปี 2558 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

โปรแกรมตรวจสุขภาพคนประจำเรือ 2018 ( Fitness to work for Seafarer )

แพทย์ตรวจคนประจำเรือประจำ ร.พ.สมิติเวช ศรีนครินทร์

  • พญ.พรรณราย เลอวัฒนกิจถาวร ออกตรวจ
  • พญ.จุฑารัตน์ ฉัตรวิริยวงศ์ ออกตรวจ
  • พญ.แจ่มจันทร์ จันทร์แจ้ง ออกตรวจ
  • นพ.อติพงษ์ สุจิรัตน์ ออกตรวจ
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?