การศึกษาพบว่าละอองเกสรจากต้นหญ้าและวัชพืชขนาดเล็ก มีการฟุ้งกระจายและลอยตัวอยู่ในอากาศได้ง่ายกว่าละอองเกสรของดอกไม้ แต่อย่างไรก็ดีการสูดดมดอกไม้โดยตรงก็ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นภูมิแพ้อย่างมากเช่นกัน ด้วยละอองเกสรดอกไม้มีขนาดเล็กมาก มักมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อสูดดมเข้าไปจึงทำให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจแบบไม่รู้ตัว รวมไปถึงโรคหอบหืด จมูกอักเสบ และโรคผิวหนัง โดยจะมีอาการแสดงเบื้องต้น เช่น จามอย่างต่อเนื่อง คัดจมูก น้ำมูกไหล รวมถึงอาการคันตา ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ หรือมีผื่นแพ้เมื่อมีการสัมผัสดอก ใบ หรือเกสรได้
เมื่อใกล้ถึงวันแห่งความรัก หลายคนมักจะนึกถึงการมอบดอกไม้เพื่อแทนคำว่า “รัก” ดังนั้นจึงควรเลือกดอกไม้ที่ไม่ส่งผลต่ออาการภูมิแพ้ หรือส่งผลน้อยที่สุด
เนื่องจากมีงานวิจัย พบว่า กลิ่นของดอกไม้ เป็นน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) สามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้และเป็นปัจจัยทำให้ระคายเคืองได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว จะมีภาวะเยื่อบุจมูกไว ที่เรียกว่า Nasal Hyperresponsiveness ต่อทั้งสารก่อภูมิแพ้และสารก่อความระคายเคือง ถ้าเลือกดอกไม้ที่มีกลิ่นอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้
หรือไม่มีเกสรโผล่ออกมาภายนอกจะดีกว่า ถึงแม้ว่าปกติละอองเกสรดอกไม้จะเป็นละอองเกสรที่ใหญ่ อาศัยแมลงในการผสมพันธุ์ซึ่งไม่ค่อยฟุ้งกระจายในอากาศก็ตาม แต่ระดับแอนตี้บอดี้จำเพาะ ที่เรียกว่าชนิดอี (Specific Immunoglobulin E) มักจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะจะเกิดในคนงานที่ทำงานในแหล่งที่ปลูกดอกกุหลาบในประเทศตุรกี นั่นแสดงว่าเกสรดอกไม้บางประเภทสามารถฟุ้งกระจายในอากาศและกระตุ้นการเกิดอาการภูมิแพ้ได้
เพราะอาจทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส หรือผื่นจากการระคายเคือง (Contact Dermatitis) ได้ เมื่อสัมผัสโดนยางหรือขนหรือหนามตามก้าน โดยเฉพาะพืชตระกูลเบญจมาศ ลิลลี่ ทิวลิป เยอร์บีน่า
ทั้งนี้หากเกิดภาวะภูมิแพ้กำเริบหรือไม่แน่ใจว่าเป็นภูมิแพ้หรือไม่ เมื่อเกิดความผิดปกติกับร่างกาย โดยเฉพาะอาการไอ จาม คัน ผื่นขึ้นตามร่างกาย หายใจลำบาก รวมถึงแสบตา น้ำตาไหล ควรหาเวลาเข้าพบอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ เพื่อทำการตรวจหาอาการ หรือทำการทดสอบภูมิแพ้ จะได้ป้องกันและรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากภูมิแพ้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่