อาการไอเรื้อรัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อหรืออาจเกิดจากที่เป็นโรคทางเดินหายใจ และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษต่างๆ สามารถทำให้มีอาการได้ทั้งไอแห้ง ไอเสียงก้อง มีเสมหะ
อาการ ไอติดต่อกันยาวทั้งวัน นอนก็ยังไอ ระหว่างนอนหลับก็ไอ ตื่นมาก็ไม่สดชื่น ไปเรียนในห้องเรียนก็ไอ ไม่มีสมาธิในการเรียน เล่นกีฬาก็ไอ เหนื่อยง่าย ทำไม่ได้เต็มที่ สร้างความวิตกกังวลให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ว่าจะส่งผลต่อสติปัญญา พัฒนาการ และการเจริญเติบโตของเด็ก สร้างความกังวลว่าจะแพร่เชื้อให้เพื่อนในห้องได้จากการไอ ทำให้การไอเรื้อรังเป็นสาเหตุที่ผู้ปกครองจะพาบุตรหลานมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลมากที่สุด
สาเหตุของอาการไอเรื้อรังสามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะใหญ่ๆ คือ
การตรวจวินิจฉัยโรคไอเรื้อรัง
การตรวจอาการไอเรื้อรังจำเป็นอย่างยิ่ง พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างละเอียด แจ้งให้แพทย์ทราบ ว่าลูกเริ่มไอตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการไอนี้เกิดขึ้นนานแค่ไหนแล้ว ไอแบบแห้งหรือไอเปียก ช่วงเวลาสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการไอ และแพทย์จะถามประวัติว่าเด็กมีโรคประจำตัว เช่น มีประวัติแพ้อาหาร แพ้อากาศ หืด หรือไม่ มีประวัติสัมผัสโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจใดๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือ วัณโรคภายในครอบครัวมาก่อนบ้างหรือไม่ หรือสิ่งแวดล้อมอย่างเช่น คนในบ้านสูบบุหรี่ หรืออาศัยอยู่ในโรงงาน หรือแหล่งสารเคมีใดๆ หรือไม่ เพื่อใช้ข้อมูลประกอบการตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง
การรักษาอาการไอเรื้อรัง แพทย์จำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ หลังจากซักประวัติและตรวจอย่างละเอียด แพทย์จะพอที่จะทราบสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีอาการไอ จากนั้นจะเริ่มให้การรักษาที่ตรงจุด ซึ่งโดยปกติอาการไอจะทุเลาภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกไอ การล้างจมูกจะช่วยให้ไม่มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูก ไม่กระตุ้นการไอ ลดโอกาสไอเรื้อรัง นอกจากนั้นในคนที่เป็น หืด หรือตรวจพบว่าเป็นภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจควรใช้ยาควบคุมอาการสม่ำเสมอ และ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นไม่ให้อาการกำเริบ
ARTIKEL