การเจ็บป่วยทั่วไป คนไข้จะมาหาคุณหมอเมื่อมีอาการผิดปกติ แต่สำหรับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายกรณีพบว่าผู้ป่วยไม่พบอาการผิดปกติ บางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย เช่น
โครงการ #เราไม่อยากให้ใครป่วย ของสมิติเวช ได้เช็กข้อมูลคนไข้ทั้งหมด พบว่า 97% ของคนไข้ ไม่รู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่เคยส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มาก่อน และ กำลังเข้าใจผิด คิดว่าต้องมีอาการก่อน จึงค่อยมาพบคุณหมอ ดังนั้นคุณหมอจึงอยากรณรงค์ให้คนไข้ของเรา อายุ 45 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มาเข้ารับการส่องกล้อง (หากมีญาติสายตรงเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน ควรต้องเข้ามาส่องกล้องเร็วขึ้นเนื่องจากมะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
ผู้รับบริการทุกคนจะต้องพบคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลประวัติส่วนตัว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ คุณหมอจะให้ข้อมูลการเตรียมตัวการส่องกล้อง รวมถึงตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ เมื่อผู้รับบริการตกลงจะเข้ารับการส่องกล้องแล้ว พยาบาลจะขอทำนัดเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อีกครั้ง
แต่เดิมการผ่าตัด มะเร็งลำไส้ใหญ่ จำเป็นต้องผ่าหน้าท้องเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งและตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความกังวล ทั้งเรื่องการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การพักฟื้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและอาการหลังผ่าตัด
ปัจจุบันได้มีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการ ผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Colectomy) โดยใช้วิธีเจาะหน้าท้องเพียงแผลเล็กๆ เพื่อสอดเครื่องมือติดกล้องที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปดูและทำการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ๆ ออก มีผลข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบหน้าท้อง (Colostomy) ที่ต้องใช้เวลายาวนานและค่าใช้จ่ายระหว่างการพักฟื้นที่มากกว่า
สมิติเวชมีทีมพร้อมช่วยเหลือและให้บริการ
*โปรดระบุ
SPECIALIST
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่