การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ทำได้หลายวิธี แต่การจะเลือกวิธีใดในการรักษานั้น ต้องขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่คนไข้เป็น และความสมบูรณ์แข็งแรงของแต่ละรายเป็นสำคัญ
มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะแรก รักษาได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง
ถ้าตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกในคนไข้ แพทย์ก็จะทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic radical prostatectomy) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการผ่าตัดแบบ Minimal Invasive Surgery (MIS) คือการผ่าตัดแผลเล็กเจ็บน้อย เพียงเปิดปากแผลเล็กน้อย จึงไม่รบกวนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะรอบข้าง
ผู้รับการผ่าตัดจะรู้สึกเจ็บน้อยมาก และสามารถฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติ
โดยการผ่าตัดนี้ก็เพื่อเอาต่อมลูกหมากในส่วนที่เป็นมะเร็งออกนั่นเอง
นอกจากนั้นก็ยังมีวิธีฉายรังสี (whole beam radiation) ซึ่งเป็นการรักษาโดยใช้รังสีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง และ การฝังแร่ (brachytherapy) เป็นวิธีการรักษาโดยการสอดใส่แท่งรังสีขนาดเล็กเข้าไปที่ต่อมลูกหมากผ่านผิวหนังบริเวณฝีเย็บ แต่ทั้งสองวิธีหลังนี้ แพทย์ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ในกรณีที่คนไข้ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะทำการผ่าตัด
นอกจากนี้ถ้าเป็นมะเร็งที่ไม่รุนแรง อาจจะใช้วิธีติดตามโรคไปก่อน (active surveillance) หรือใช้คลื่นความถี่สูง (HIFU) ได้

มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะลุกลาม
ส่วนถ้าเป็นในกรณีมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม แพทย์ก็จะรักษาโดย การฉีดยา และหรือ การกินยาลดฮอร์โมนเพศชาย เพื่อเป็นการลดตัวกระตุ้นเซลล์มะเร็ง อาจใช้การฉายรังสีร่วม หรือ ผ่าตัดลูกอัณฑะออก ซึ่งตรงจุดนี้ก็ไม่เป็นอันตรายใด ๆ อีกเช่นกัน ซึ่งถ้ามะเร็งต่อมลูกหมากมาถึงจุดระยะลุกลามนี้ ส่วนใหญ่แพทย์ก็จะทำการรักษาแบบประคับประคองเพื่อไม่ให้มีการลุกลามมากขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่น่าสนใจหลายวิธีซึ่งก็ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงที่น่าเป็นห่วงนัก ดังนั้น ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าคุณจะมีอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เราขอแนะนำให้คุณมาพบแพทย์ หากพบเซลล์มะเร็ง การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็คงจะเป็นอะไรที่ดีกว่าการปล่อยที่จะให้เซลล์มะเร็งลุกลาม
