โรคร้ายแรง!! อย่างเช่นโรคมะเร็ง คงไม่มีใครอยากจะให้เกิดกับตัวเราหรือคนในครอบครัว เพราะโรคร้ายนี้กว่าจะถูกตรวจพบ ก็มักจะเป็นในระยะท้ายๆ หรือพบว่าเนื้อร้ายได้กระจายไปไกลทั่วร่างกายเกินกว่าที่จะควบคุมได้
หลายคนคงจะจำข่าวที่ดังไปทั่วโลกในปี 2013 เมื่อแองเจลิน่า โจลี่ นางเอกระดับโลกประกาศตัดเต้านมทิ้ง! ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งแต่อย่างใด ด้วยความที่ครอบครัวของเธอนั้นไม่ว่าจะเป็นคุณแม่หรือคุณยายของเธอต้องเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อตรวจยีนของตนเองดูแนวโน้มหรือโอกาสเสี่ยงของตนเอง เนื่องจากมะเร็งเต้านมนั้นมียีนที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และผลที่ออกมานั้นมีความชัดเจนว่าเธอมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมถึง 87% และเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ได้สูงถึง 50% เธอจึงตัดสินใจตัดเต้านมทั้งสองข้างทิ้ง เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งที่อาจจะเกิดขึ้นกับเธอในอนาคต
ตามปกติแล้วเราทุกคนมียีนก่อมะเร็งติดตัวมาแต่กำเนิด ขึ้นอยู่ที่ว่ายีนนั้นจะกลายพันธุ์จนก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ ซึ่งการเกิดมะเร็งส่วนใหญ่จะมาจากความผิดปกติของคนคนนั้นเองประมาณ 90-95% โดยอาจมาจากสิ่งแวดล้อม สารเคมี พฤติกรรมการใช้ชีวิต ส่วนอีก 5-10% จะเป็นมะเร็งที่มาจากพันธุกรรม หรือเป็นมรดกตกทอดมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
สำหรับยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ยีนก่อมะเร็ง (oncogenes) เป็นยีนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์เกิดมะเร็ง และยีนต้านมะเร็ง (tumor suppressor genes) เป็นยีนปกติที่ช่วยซ่อมแซม DNA ที่เสียหาย ทำหน้าที่เป็นเหมือนเบรครถยนต์ คอยตรวจจับยีนก่อมะเร็ง (Oncogene)หรือเปรียบเสมือนคันเร่งรถยนต์ ที่เริ่มเพี้ยนให้หยุดทำงาน เพื่อไม่ให้กลายพันธุ์เป็นมะเร็ง
การตรวจยีนมะเร็ง ในปัจจุบันสามารถตรวจได้กับมะเร็งทุกชนิด โดยเฉพาะมะเร็งที่พบได้บ่อย คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ เนื่องจากมะเร็งทั้ง 3 ชนิดนี้ส่งผลทางพันธุกรรมได้อย่างชัดเจน
การตรวจยีนมะเร็ง สามารถช่วยเราคาดการณ์ได้ว่าเรามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งแค่ไหน และควรจะวางแผนการใช้ชีวิตของเราในอนาคตอย่างไร
หากผลตรวจออกมาเป็นลบ (Negative) คือ ไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมในการเกิดมะเร็ง การดูแลสุขภาพจะดำเนินไปตามความจำเป็นของแต่ละช่วงวัย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็ง เพราะการเกิดมะเร็งมาจากหลายปัจจัย เช่น กินอาหารผสมสารกันเสีย อาหารปิ้งย่างเขม่าดำ ดื่มเป็นแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ สัมผัสสารเคมีอันตรายบ่อยครั้ง โอกาสสร้างมะเร็งจะตามมาได้ไวกว่ามะเร็งที่จะกลายพันธุ์มาจากพันธุกรรม
สำหรับคนที่ผลออกมาเป็นบวก (Positive) คือ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางพันธุกรรม แพทย์จะให้คำแนะนำและดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด รวมถึงวางแผนการตรวจสุขภาพ รวมถึงการดูแลตัวเองเกี่ยวกับการใช้ชีวิต อาหารการกิน และข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อไม่ไปเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งที่เกิดจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
การตรวจยีนมะเร็งเหมาะกับ
“การตรวจหายีนมะเร็งทางพันธุกรรมนั้นมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในอนาคตอย่างมาก ในคนหลายกลุ่ม สำหรับคนที่เป็นมะเร็งอยู่แล้วนั้นเราจะตรวจยีนมะเร็งที่ตอบสนองต่อการใช้ยา เพราะเป็นการตรวจเพื่อหาแนวทางการรักษา สำหรับกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหรือญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็ง หรือผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง เมื่อเข้ามาตรวจแล้วไม่พบ ก็สบายใจได้ว่าไม่มีความเสี่ยงจากพันธุกรรมมาถึงเรา แต่ถ้าพบ ก็จะทำให้เรารู้ก่อน ว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งกี่เปอร์เซ็นต์ ตัวคนไข้เองจะได้วางแผน ดูแล ตัดสินใจ และจัดการกับชีวิตได้ เช่นเดียวกับกรณีของแอนเจลีน่า โจลี่ นั่นเอง”
เจาะเลือดตรวจยีน ง่ายและสะดวกที่สุด พร้อมฟังผลกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ชั้นนำของประเทศ
วิธีตรวจคัดกรองพันธุกรรมมะเร็ง สามารถเข้ามาเจาะเลือดตรวจได้ทุกคนหลังปรึกษากับแพทย์แล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่แม่นยำและสะดวกที่สุดในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความพิเศษคือ คุณจะได้รับการแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์การแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่