รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ และรพ.เด็กสมิติเวช ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีและบริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด เข้าร่วมและนำผลงานวิจัยแพทย์ไทยด้านพันธุวิศวกรรมเซลล์บำบัด รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด

รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ และรพ.เด็กสมิติเวช ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีและบริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด เข้าร่วมและนำผลงานวิจัยแพทย์ไทยด้านพันธุวิศวกรรมเซลล์บำบัด รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด

รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ และรพ.เด็กสมิติเวช ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีและบริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด เข้าร่วมและนำผลงานวิจัยแพทย์ไทยด้านพันธุวิศวกรรมเซลล์บำบัด Cell Therapy รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันด้วยภูมิคุ้มกัน Anti CD19 CAR T-Cell โดยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่ได้รับมาตรฐานระบบคุณภาพที่ใช้ในการจัดการผลิต GMP

นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยภายใต้การนำของ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง กุมารแพทย์โรคมะเร็งและโรคเลือด และทีมแพทย์มะเร็งโลหิตวิทยาของรพ.สมิติเวช ศรีนครินท์ ได้ร่วมศึกษาวิจัยและนำการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันด้วยกระบวนการเซลล์บำบัดมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ โดยการศึกษาวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันแนวทางการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันสามารถรักษาด้วยวิธีเซลล์บำบัดโดยเทคโนโลยี CAR T-cell ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง Cell therapy และ Gene therapy เพื่อรักษามะเร็ง โดยเฉพาะโรคกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือด เช่น Leukemia และ Lymphoma ซึ่งอาจใช้เซลล์เม็ดเลือดขาวผู้ป่วยเอง (Autologous T-cell) หรือใช้เซลล์เม็ดเลือดขาวผู้บริจาค (Allogeneic T-cell) มาทำการดัดแปลงด้วยวิธีทางพันธุวิศวกรรม (Genetic engineering) เพื่อให้มีความสามารถในการจับโปรตีน (Antigen) บนผิวเซลล์มะเร็งและทำลายเซลล์มะเร็งนั้นได้ ด้วยการฉีดเซลล์เม็ดเลือดขาวดัดแปลงให้ผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยา ตัวอย่างเช่น CD19 CAR T-cell therapy เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกดัดแปลงให้จำเพาะต่อโปรตีน CD19 ที่อยู่บนเซลล์มะเร็ง Leukemia และ Lymphoma บางชนิด และ BCMA CAR T-cell therapy เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกดัดแปลงให้จำเพาะต่อโปรตีน BCMA ที่อยู่บนเซลล์มะเร็ง Multiple myeloma เป็นต้น

“นับว่าเป็นการนำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์โดยการวิจัยและพัฒนาของทีมแพทย์ไทย สามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศในอนาคต แต่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนช่วยให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ที่สำคัญ ผลักดันให้ไทยเป็น Medical Hub ของเอเชีย” 

คะแนนบทความ